ไทย
ไทย
English
中文 (中国)
ไทย
ไทย
English
中文 (中国)
No products in the cart.
0
THB, ฿
USD, $
FOX v.1.4.0
logo
MENU
MENU
เกี่ยวกับเรา
สินค้า
หมอนหนุน
หมอนจัดท่านอน
ท็อปเปอร์
ที่นอน
หมอนหนุน
หมอนจัดท่านอน
ท็อปเปอร์
ที่นอน
My BestFIT
ร้านค้าออนไลน์
Mr.big Wellness
เรื่องราวสุขภาพ
หน้าร้าน
Facebook
Intragram
Twitter
เกี่ยวกับเรา
สินค้า
My BestFIT
ร้านค้าออนไลน์
Mr.big Wellness
เรื่องราวสุขภาพ
หน้าร้าน
Facebook
Intragram
Twitter
Menu
เกี่ยวกับเรา
สินค้า
My BestFIT
ร้านค้าออนไลน์
Mr.big Wellness
เรื่องราวสุขภาพ
หน้าร้าน
Facebook
Intragram
Twitter
logo
No products in the cart.
0
หน้าแรก
/ เรื่องราวสุขภาพ
/ กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis)
กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis)
สิงหาคม 4, 2023
กระดูกสันหลัง
,
กระดูกสันหลังเสื่อม
,
กล้ามเนื้อ
,
กายภาพบำบัด
,
พฤติกรรมการใช้ชีวิต
,
วัยทำงาน
,
อาการปวด
,
เส้นประสาท
Share this :
Instagram
กระดูกสันหลังเสื่อม
(Spondylosis)
ในปัจจุบันอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังเช่นอาการกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยเเละเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิตของคนในหลายๆวัยเเละปัจจัยที่มีผลในการทำให้เกิดกระดูกสันหลังเสื่อมด้วยเช่น อายุ น้ำหนักตัวเเละกิจกรรมที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการกระดูกสันหลังเสื่อม
กระดูกสันหลังเสื่อม (
Spondylosis)
เป็นอาการที่กระดูก
หมอนรองกระดูก
ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูกเเละกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพทำให้กระดูกสันหลังขาดความหยืดหยุ่นเเละติดเเข็งมากขึ้น มักเกิดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ
(Cervical Spine)
กระดูกสันหลังส่วนอก
(Thoracic Spine)
เเละกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว
(Low Back)
ส่วนที่สามารถพบได้มากที่สุดคือบริเวณกระดูกสันหลังส่วนอกเเละบั้นเอว
มักพบในผู้ที่มีอายุ
40
ปีขึ้นไปแต่ในปัจจุบันเริ่มพบในผู้ที่มีอายุน้อยกว่านั้นมากขึ้น
สาเหตุของการเกิดกระดูกเสื่อม
1. การเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังตามธรรมชาติ
เเบ่งได้เป็น
2
ช่วงอายุคือ
–
วัยทำงาน
หรือช่วงอายุ
20-50
ปี
เกิดจากการทำงานมากกว่าปกติ
การเล่นกีฬา
การใช้หลังอย่างหนัก
ก้มๆเงยๆ
การมีน้ำหนักตัวมาก กล้ามเนื้อหลังเเละท้องไม่เเข็งเเรง
หมอนรองกระดูกเคลื่อน
–
ช่วงอายุ
50-70
ปี
เกิดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ
ซึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ
65
ปีขึ้นไปกระดูกสันหลังมักมีการงอกของกระดูกเพิ่มมากขึ้น มีการเสื่อมของกล้ามเนื้อเเละเอ็นต่างๆทำให้เกิดความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังเเละอาจมีปัจจัยเสริมจากโรคร่วมด้วย
2. เกิดจากสาเหตุอื่นๆที่ไม่ได้เกิดจากกระดูกเสื่อมสภาพ
–
การติดเชื้อ
สามารถพบได้บ่อยในประเทศไทยเชื้อที่เป็นสาเหตุบ่อยคือ เชื้อวรรณโรคที่มักได้รับเชื้อมาโดยไม่รู้ตัวเเละมีอาการทางงปอดร่วมด้วยส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังเเละอัมพาต
–
เนื้องอกหรือโรคมะเร็ง
เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือ
โรคมะเร็งกระจายมาจากกอวัยวะอื่นเช่น
โรคมะเร็งเต้านมหรือโรคมะเร็งปอด
3. พฤติกรรมการใช้กระดูกสันหลังที่มากเกินไป
เช่น
การเเบกหรือสะพายของหนักๆ
การนอนผิดท่า การนั่งทำงานหรือนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานหรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ
ผู้ที่เป็นกระดูกสันหลังเสื่อมจะมีอาการปวดคอหรือหลังในลักษณะที่เป็นๆหายๆแต่ในบางรายอาจมีอาการเเบบเรื้อรังเเละจะมีอาการรุนเเรงขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง ปวดบั้นเอว
กระดูกสันหลังติดเเข็งเเละขยับตัวลำบาก
มือ
เเขน
เท้าหรือขา
ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง
2
ข้างมีอาการชา
อ่อนเเรงหรือเป็นเหน็บ
ปวดศรีษะในบางครั้ง
กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ค่อยอยู่
ในกรณีที่มีการกดเบียดเส้นประสาทรุนเเรงทำให้เดินลำบาก
เดินไม่สมดุล
ไม่มั่นคงเหมือนจะหกล้มโดยเฉพาะเวลาที่ขึ้นบันได
วิธีการรักษากระดูกสันหลังเสื่อม
–
การรักษาด้วยยา
เฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดมากหรือมีอาการปวดตามเส้นประสาท
เเต่ควรระวังผลแทรกซ้อนจากการรับประทานยาเป็นเวลานาน
– การทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดเเละเสริมความเเข็งเเรงของกล้ามเนื้อกระดูกสันหลัง
– การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงคอเเละหลัง โดยหากอาการดีขึ้นเเล้วควรงดใช้เนื่องจากจะส่งผลให้ความเเข็งเเรง
กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังลดลง
– หากอาการยังไม่ดีขึ้นจากการรักษาวิธีที่กล่าวมาเเพทย์อาจพิจารณาการฉีดยาลดอาการปวดตามเส้นประสาทเพื่อลดความรุนเเรงของอาการ
–
การผ่าตัด
ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นเเพทย์อาจพิจารณาให้ทำการผ่าตัด
กระดูกสันหลังเสื่อมเป็นอาการที่เป็นอุปสรรคกับการใช้ชีวิต ดังนั้นหากมีอาการควรรีบไปพบเเพทย์เพื่อทำการตรวจ
รักษาเเละวิธีป้องกันอาการกระดูกสันหลังเสื่อมสามารถทำได้ด้วยตนเองคือหลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานาน สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากผิดปกติการลดน้ำหนักจะช่วยลดภาระต่อกระดูกสันหลังเเละควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของกระดูกสันหลังที่จะเกิดขึ้น
Share this :
Instagram