ฝัน (Dream)

                    ฝั (Dream) คือการเเสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกเเละเเรงปรารถนาบางอย่างที่ถูกกดทับเเละเก็บซ่อนไว้ในจิตใจลึกๆของมนุษย์ผ่านการทำงานของสมองในขณะที่หลับอยู่
ซิกมันด์
ฟรอยด์ นายเเพทย์ด้านประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ผู้เป็นบิดาเเห่งจิตวิเคราะห์ ได้ศึกษาการทำงานของระบบประสาทเเละความคิดของมนุษย์เพื่อประโยชน์ทางด้านการเเพทย์เเละด้านอื่นๆ ฟรอยด์มองว่าความฝัน คือ การเเสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกเเละเเรงปรารถนาบางอย่างที่ถูกกดทับเเละเก็บซ่อนเอาไว้ข้างในจิตใจลึกๆของมนุษย์ 

                    ในขณะที่ร่างกายเรากำลังนอนหลับพักผ่อนแต่สมองไม่ได้พักตัวเองด้วย สมองยังคงทำหน้าที่ดูเเลระบบสารเคมีต่างๆ เซลล์ประสาทยังคงทำงานเเม้เราจะหลับไปเเล้วก็ตาม
สมองส่วนในรักษาข้อมูลความจำเเละส่งข้อมูลในรูปแบบคลื่นสมองไปยังสมองใหญ่ ดังนั้นจะกล่าวว่าขณะที่เราหลับจะมีการฝันตลอดเวลาก็ได้เนื่องจากสมองยังคงมีการทำงาน
อยู่ตลอดเวลาเเต่เราจะจำอะไรได้บ้างหรือไม่เพียงเท่านั้น
 

                    ใน 1 คืนวงจรการนอนหลับของเราจะทำงาน 4-5 รอบเราจะฝันตลอดเวลาที่นอนหลับแต่ช่วงที่ชัดเจนที่สุดมักจะเกิดในช่วง REM (Rapid Eye Movement) ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ตาเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว แม้ในช่วงนี้ร่างกาจะเป็นอัมพาตไปชั่วขณะแต่สมองจะตื่นตัวมากที่สุด ข้อมูลต่างๆจะถูกนำมาผสมกับอารมณ์เเละเเสดงออกมาเป็นความฝัน การฝันจะใช้เวลาตั้งเเต่ไม่กี่วินาทีไปจนถึง 20 นาทีเเละคนเรามักจะจำความฝันได้มากกว่าหากฝันในระยะ REM โดยเฉลี่ยในระหว่างการนอนหลับ 8 ชั่วโมงเราจะใช้เวลากับการฝัน 2 ชั่วโมง 

                    จากการทดสอบของสถาบันการเเพทย์ Max Planck ในเมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนีที่ได้ทำการทดลองกับหนูที่ถูกวางยาสลบ พบว่าสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ (Neocortex) สามารถทำงานได้ดีในขณะที่นอนหลับซึ่งจะส่งกระเเสประสาทไปกระตุ้นสมองส่วนฮิปโปเเคมปัส (Hippocampus) ให้ประมวลผลเเละเก็บข้อมูลในระยะสั้น สมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์นี้จะเป็นตัวตัดสินใจว่าข้อมูลความทรงจำชุดใดจะถูกส่งกลับไปจัดเก็บเป็นข้อมูลระยะยาวเเละความทรงจำใดควรจะถูกลบเเละลืมในที่สุด ซึ่งภาพความฝันที่เราเห็นขณะหลับจึงเกิดจากความทรงจำบางชุดถูกสุ่มเเละตรวจจับได้เป็นพิเศษขณะที่ถูกส่งผ่าน โดยจะถูกผสมผสานเเละปรุงเเต่งเรื่องราวตามประสบการณ์ที่เเต่ละคนนึกคิดเเละพบเจอ ซึ่งนักจิตวิทยาสมัยใหม่ได้ศึกษากระบวนการเกิดความฝันของคนโดยระบุถึงสาเหตุที่ทำให้คนเราฝัน คือ ความฝันที่มาจากความเจ็บปวด ฝันจากเรื่องที่ค้างคาใจเเละฝันที่มาจากประสบการณ์ในอดีต 

                    ความฝันที่จำได้ส่วนใหญ่ประมาณ 80-90% จะเกิดในช่วงการนอนหลับเเบบตากระตุกความฝันที่เกิดขึ้นในช่วงเเรกๆของการหลับมักจะถูกลืม ส่วนที่จำได้นั้นจะเป็นความฝันที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้ตื่นหรือฝันจนตื่น ส่วนใหญ่ความฝันจะอยู่ในรูปของการเห็นรองลงมาจะอยุ่ในรูปของการได้ยิน การสัมผัสเเละความเจ็บปวด 

                    ความฝันเป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งของเซลล์สมองเเละระบบประสาท บ่อยครั้งที่ความฝันกินเวลานานเเละยิ่งถ้าความฝันนั้นเป็นเหตุการณ์ที่หวาดเสียวเเละลุ้นระทึกมากๆ
ก็จะส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยล้าเหมือนไม่ได้พักผ่อนเนื่องจากสมองยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากใกล้ถึงช่วงเวลาที่จะพักผ่อนควรทำสมองเเละจิตใจ
ให้ว่างโดยการฟังเพลงเบาๆก่อนนอนก็อาจทำให้นอนหลับได้เต็มอิ่มมากยิ่งขึ้น 

Share this :