No products in the cart.
0

ข้อไหล่ติด

(Frozen Shoulder)

                         ปัญหาสุขภาพข้อไหล่ที่ขยับนิดหน่อยก็มีอาการปวด อาจมาจากการยกของหนักมากเกินไป อายุ เนื่องจากไหล่เป็นข้อที่ยึดติดเเละหลุดง่ายมากที่สุด อาการที่มักเกิดขึ้นคือ กระดูกหัวไหล่หลุด กระดูกหัวไหล่หัก ข้อไหล่เสื่อม เอ็นหัวไหล่ขาดเเละไหล่ติดที่มักจะมีอาการเจ็บที่ขยับนิดขยับหน่อยก็มีอาการปวด เจ็บในท่าทางที่ขยับหัวไหล่สุดเเละอาการปวดนั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน 

                         อาการข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) พบได้บ่อยประมาณ 2% ของประชากรเกิดจากเนื้อเยื่อในข้อไหล่หนาเเละตึงขึ้น อาการคือจะไม่สามารถยกเเขนได้สุดหากยกเเขนจนถึงระดับเกือบเต็มที่จะรู้สึกปวด โดยจะเกิดในทุกทิศทางในการเคลื่อนไหวทั้งไปด้านหน้า ด้านข้างหรือด้านหลังทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน 

                         อาการข้อไหล่ติดเกิดจากการที่ถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆข้อไหล่เกิดการอักเสบการติดยึดเเละการสร้างเเถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลงเเละมีอาการปวดหรือเกิดจากสาเหตุภายในข้อไหล่ เช่น เอ็นฉีกขาด กระดูกงอกภายในข้อไหล่เป็นต้น 

                         ข้อไหล่ติดสามารถเกิดได้กับทุกคนแต่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเเละพบมากในช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี สัญญาณเเละอาการของภาวะข้อไหล่ติดที่พบบ่อยคืออาการตึงเเละปวดบริเวณข้อไหล่โดยปกติมักจะเเย่ลงเเละพัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปอาการของข้อไหล่ติดเเบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 

                             ระยะปวด จะมีอาการปวดมากเเม้จะยกไหล่เพียงนิดเดียว ระยะนี้มักเป็นอยู่ประมาณ 2-9 เดือน 

                             – ระยะข้อไหล่ติด จะมีพิสัยการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง มักมีอาการปวดตึงไหล่เมื่อขยับไหล่ใกล้สุดจะทำให้มีปัญหาเรื่องการใช้งาน ในระยะนี้มักมีอาการในระยะเวลาที่เเตกต่างกันตั้งเเต่ 2 เดือนถึง 1ปีครึ่ง 

                             ระยะฟื้นคืนตัว เมื่อผ่านระยะติดมาเเล้วจะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว โดยธรรมชาติจะรักษาตัวเองอาจใช้ระยะเวลาตั้งเเต่ 1-3 ปี 

                         อาการไหล่ติดสามารถหายเองได้เเต่อาจใช้เวลานานถึง 1-2 ปีเเละอาจไม่สามารถกลับมายืดได้สุดเหมือนข้างปกติโดยหากมีอาการข้อไหล่ติดขยับไหล่เพียงเล็กน้อยก็มีอาการปวดมากอาจจำเป็นต้องพักการใช้งานไปก่อน ประคบเย็นช่วงที่มีอาการอักเสบเเบบเฉียบพลันใช้เวลาประมาณ 2-3 วันเพื่อให้อาการปวดดีขึ้น หากปวดมากควรเข้ารับการตรวจเเละรับประทานยาตามที่เเพทย์สั่งหรือทำการรักษาโดยการทำกายภาพบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญ เช่น การทำอัลตร้าซาวด์ 

Share this :