การนอนละเมอ

(Sleepwalking)

                   การที่ใครบางคนเดินหรือทำกิจกรรมขณะที่ยังไม่ตื่นเป็นอาการที่เรียกว่าการนอนละเมอซึ่งเป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นในขณะที่นอนหลับที่เเสดงออกมาในรูปเเบบของพฤติกรรมต่างๆเเละการนอนละเมออาจทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่าที่หลายคนคิด 

                   การนอนละเมอ (Sleepwalking หรือ Somnambulism) มักเกิดในช่วงเเรกของการนอนหลับเป็นการเเสดงพฤติกรรมรูปแบบต่างๆ เช่น ลุกขึ้นนั่งบนเตียง มองไปมองมา จับผ้าห่มหรือหมอน ในผู้ที่เป็นมากจะลุกขึ้นยืนเดินไปเดินมา เดินออกนอกห้อง ขึ้นลงบันไดหรือเดินออกนอกบ้าน รับประทานอาหาร พูดคนเดียว วิ่งหรือพยามหนีจากอันตรายที่รู้สึกอยู่ในขณะนั้น ซึ่งการละเมอจะเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกถึงคุณภาพของการนอนที่เป็นไปในทิศทางที่ไม่ค่อยดีมากนัก 

                   การเดินละเมอในขณะที่กำลังนอนหลับอยู่นั้นเป็นภาวะผิดปกติของการนอนชนิดหนึ่งเป็นออกเป็น 2 ระยะที่เเตกต่างกันคือคือ การนอนหลับในช่วงกลอกตาอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movememt : REM) เเละการนอนหลับธรรมดา (non-Rapid Eye Movement : NREM) ในคนปกติการนอนละเมอจะเป็นช่วงสั้นๆ ไม่นานก็หายไปเองเเต่หากเป็นมากก็จะมีอาการ
ค่อนข้างบ่อยจนรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น
ตื่นเช้าเเล้วรู้สึกว่าหลับได้ไม่เต็มที่ อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน ควรปรึกษาเเพทย์เพื่อลดความเครียดเเละพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการนอนละเมอเเละในบางรายอาจต้องใช้ยาเพื่อปรับคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น 

                   อาการละเมอขณะหลับเกิดขึ้นในขณะที่สมองของมนุษย์หลับลึกเเละมีการเปลี่ยนเเปลงกระทันหัน การเปลี่ยนเเปลงนี้คือมีคลื่นไฟฟ้าแบบการตื่นเข้ามาผสมทำให้เวลาละเมอ
เป็นภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น
มักพบบ่อยในเด็กจึงคาดว่าสาเหตุของการละเมอนั้นอาจมาจากสมองที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่จึงมีความเสี่ยงที่จะเดินละเมอ พันธุกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการละเมอ หากพ่อเเละเเม่มีอาการละเมอลูกที่เกิดจะมีโอกาสละเมอมากกว่าคนอื่นเป็นเท่าตัว ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการละเมอ ได้เเก่ ความเจ็บป่วยบางอย่างทางกาย ความเครียด
การใช้ยาบางชนิด ความเครียด รวมถึงโรคบางอย่างที่ทำให้การนอนหลับไม่เสถียรเเละมีอาการหลับๆตื่นๆ

                   การละเมอส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงที่หลับลึกเเละหลับฝันหากเป็นการละเมอพูด ร้อง เหงื่อเเตก ใจสั่น ละเมอเดินมักจะเกิดขึ้นในช่วงหลับลึก การละเมอในช่วงหลับฝันมักเป็นเหมือนฝันร้ายตื่นขึ้นมาเเล้วจำได้ว่าเกิดอะไรขึ้น หากฝันว่าเดิน วิ่งหรือต่อสู้ ปกติเเล้วร่างกายจะมีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นจริงแต่หากมีการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ว่าจะเดิน วิ่ง เตะหรือต่อยเกิดขึ้นจริงถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติขณะนอนหลับ 

                   ผู้ที่มีการละเมอในขณะที่นอนหลับจะมีอาการอื่นๆแสดงร่วมด้วยซึ่งจะเกิดในระหว่างที่ละเมอหรือหลังจากการละเมอเช่น นั่งบนเตียงเเละลืมตา มีอาการสับสนหรืองุนงงหลังจาก
ตื่นนอน มีภาวะสูญเสียความทรงจำบางส่วนหรือทั้งหมดของการเดินละเมอในขณะหลับและพฤติกรรมก้าวร้าวหลังจากที่โดนปลุกให้ตื่น
 

                   การรักษาการนอนละเมอยังไม่มีการรักษาเนื่องจากส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายไปเองจึงควรลองหากิจวัตรประจำวันที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายเเละไม่เครียดก่อนเข้านอน
พยามเข้านอนให้ตรงเวลาทุกคืน ห้องนอนควรมืดเเละสงบ
ไม่ควรดูหน้าจอก่อนเข้านอน จำกัดการดื่มเครื่องดื่มก่อนนอนเเละเข้าห้องน้ำก่อนนอนเสมอ 

                   การนอนละเมอเป็นอาการที่พบเห็นได้เเละเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัวเป็นอาการอย่างหนึ่งของระบบสมองที่เเปรปรวนไป ปกติเเล้วอาการนอนละเมอจะหายไปได้เองเเต่หากมีอาการเเล้ว
กระทบกับชีวิตประจำวัน
เช่น ไม่สมาธิในการทำงาน นอนหลับได้ไม่เต็มที่ควรไปปรึกษาเเละรับการรักษาจากเเพทย์ 

 

Share this :