เมลาโทนิน  

(Melatonin) 

                    อาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก หลับๆตื่นๆ พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดปัญหากับสุขภาพเเละกระทบกับการใช้ชีวิต หลายๆคนจึงเริ่มหาเเนวทางที่จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นเเละทำให้นอนหลับได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การรับประทานอาหารเสริมเมลาโทนิน 

                    เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่ต่อม
ไพเนียล (pineal gland) ในสมอง ทำหน้าที่ในการควบคุมรอบการนอนหลับ (Cycles of Sleep) ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องการนอนหลับเเล้วยังช่วยเรื่องในการป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยควบคุมความดันโลหิต อุณหภูมิของร่างกาย ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลเเละยังมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน  

                    ความมืดจะเป็นตัวที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งเมลาโทนิน เข้าสู่กระเเสเลือดเเละจะหยุดหลั่งเมื่อเจอเเสงสว่างโดยระดับของเมลาโทนินจะอยู่ในกระเเสเลือดเป็นเวลา 12 ชั่วโมงเเล้วจะค่อยๆลดลง ในเวลาประมาณ 09.00 น. ระดับเมลาโทนินจะลดต่ำลงจนวัดระดับไม่ได้ 

                    ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างเมลาโทนินคือ ช่วงเวลากลางวัน กลางคืน ปัจจัยเรื่องเเสงเเละความสว่างก็ส่งผลต่อการหลั่งเมลาโทนินเช่นกัน บางครั้งจึงเรียกฮอร์โมนนี้ว่า “Dracula of hormones” เนื่องจากเมลาโทนินจะหลั่งออกมาในเวลากลางคืนหรืออยู่ในที่มืดเเสงน้อยเเละร่างกายจะถูกยับยั้งการหลั่งเมลาโทนินเมื่ออยู่ภายใต้เเสงไฟ ความสว่างของคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอโทรศัพท์มือถือเป็นต้น 

                    เมลาโทนินมีทั้งในรูปแบบปลดปล่อยทันทีซึ่งจะมีทั้งเเบบยาเม็ดหรือเเบบอื่น เช่น กัมมี่ (Gummies) เป็น
รูปแบบที่ออกฤทธิ์ทันทีที่ใช้มีทั้งขนาด 3 มก. , 5 มก. เเละ 10 มก. เเต่เมลาโทนินรูปแบบนี้ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทยเเละรูปแบบออกฤทธิ์เนิ่น เมลาโทนินชนิดนี้จะค่อยๆออกฤทธิ์ทีละน้อยเลียนเเบบการหลั่งของเมลาโทนินธรรมชาติ ขนาด 2 มก. เป็นรูปแบบที่มีจำหน่ายเป็นยาในประเทศไทย  

               เมลาโทนินเหมาะกับใครบ้าง 

               – บุคคลที่มีอาการนอนหลับผิดเวลา (Delayed sleep phase syndrome) เป็นความผิดปกติทางด้านการนอนหลับเเละมักมีปัญหาในการตื่นนอนตอนเช้า 

               – บุคคลที่เป็นโรคนอนไม่หลับ 

               บุคคลที่มีปริมาณเมลาโทนินต่ำเกินไปเนื่องจากเกิดภาวะเจ็ทเเลค (Jet Lag) หรือทำงานเป็นกะ (Shift Work) 

               ผู้สูงอายุ 

               ความเสี่ยงจากการใช้เมลาโทนินในระยะยาว มีอาการง่วงเหงาหาวนอนระหว่างวัน ปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษะ มวนท้อง วิตกกังวล หงุดหงิด มึนงงเเละอาการซึมเศร้าในระยะสั้น จากการศึกษายังพบว่าการใช้เมลาโทนิน อาจส่งผลเสียต่ออารมณ์ของผู้ป่วยโรงสมองเสื่อมดังนั้นควรใช้อย่างระวังภายใต้คำเเนะนำของเเพทย์ในปริมาณที่กำหนดเนื่องจากการได้รับเมลาโทนินในระยะยาว แพทย์จึงมักเเนะนำให้ใช้เพียงเเค่ในระยะสั้นๆเเละควรใช้อาหารเสริมเมลาโทนินที่ได้รับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารเเละยา 

               ประโยชน์ของเมลาโทนิน 

               ช่วยรักษาความผิดปกติของนาฬิกาชีวิต 

               รักษากลุ่มอาการนอนหลับผิดเวลา (Delayed sleep phase syndrome) การใช้อาหารเสริมที่มีเมลาโทนินร่วมกับการปรับสภาพเเวดล้อมในการนอนให้เหมาะสมจะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น 

               การรักษาโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) 

               บรรเทาอาการเจ็ทเเลค (Jet Lag) 

               ช่วยในเรื่องการนอนหลับของคนที่ทำงานเป็นกะ (Shift Work) 

               ข้อควระวังในการใช้เมลาโทนินคือ ควรใช้ในเวลาที่ถูกต้อง ปริมาณที่ถูกต้องหากต้องการรับประทานเมลาโทนินเป็นตัวช่วยในการนอนหลับควรปรึกษาเเพทย์ก่อนเนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงเช่น ไปลดการทำงานของเมลาโทนินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ปวดหัว วิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้ เมลาโทนินอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาต้านการเเข็งตัวของเลือด (Anti Ceagulants) ยาคุมกำเนิด ยาลดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) เป็นต้น

Share this :