No products in the cart.
0

การแก้ปัญหาการนอนกรนเเละภาวะอุดกลั้นทางเดินหายใจ

Share this :

          การแก้ปัญหาการนอนกรนเเละภาวะอุดกลั้นทางเดินหายใจ 

 

            การนอนกรนเกิดจากอุดกลั้นของทางเดินหายใจส่วนบนเเละเกิดได้จากหลายสาเหตุซึ่งหลายๆคนที่มีอาการนอนกรนก็คงยังหาวิธีการรักษาไม่ได้ การนอนกรนจึงกลายเป็นปัญหาของหลายๆคนซึ่งหากถ้านอนกรนมากๆก็อาจจะกลายเป็นภาวะอุดกลั้นทางเดินหายใจซึ่งจะก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้ 

            วิธีที่ช่วยทำให้ลดอาการนอนกรนหรือสำหรับคนที่มีปัญหาภาวะอุดกลั้นทางเดินหายใจแล้วหยุดหายใจขณะที่นอนหลับเริ่มจากสิ่งที่สำคัญและง่ายที่สุดที่ทุกคนสามารถทำได้คือ การจัดท่านอน โดยถ้าใช้เป็นผลิตภัณฑ์ของ mr.big จะเเนะนำเป็นหมอนเลขเก้า หมอนตัวเจ และหมอน body pillow ที่สามารถใช้ในการจัดท่านอนได้แต่ถ้าไม่ใช้หมอนจัดท่านอนก็สามารถทำเสื้อที่ใส่ลูกเทนนิสไว้ด้านหลังเพื่อป้องกันการนอนหงายแทนได้ วิธีต่อไปคือการใช้ที่ครอบฟันและที่ดูดลิ้นโดยที่ครอบฟันเหมาะสำหรับคนไข้ที่มีขากรรไกรถอยไปด้านหลัง การใส่ที่ครอบฟันจะช่วยในการดึงขากรรไกรล่างให้ยืดขึ้นจากแนวปกติและที่ดูดลิ้นเหมาะกับคนที่ลิ้นหย่อนลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจหรือว่าเป็นผู้ที่มีลิ้นขนาดโตกว่าปกติอีกวิธีคือการใช้เครื่อง CPAP จะใช้ในกรณีที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจก่อนที่จะใช้ต้องทำ Sleep Test ก่อนว่าใน 1 คืนมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจมากน้อยแค่ไหนถ้ามีมากกว่า 30% ขึ้นไปแล้วก็มีภาวะออกซิเจนตกลงมากกว่า 5-15 ครั้งถือว่าเป็นแบบเบาถ้า 15 ครั้งขึ้นไปจะเป็นแบบกลางไปถึงหนักถ้ากรณี 15 ครั้งขึ้นไปจำเป็นต้องใช้เครื่อง CPAP อย่างแน่นอนและอีกวิธีที่สามารถทำได้คือการออกกำลังกายกล้ามเนื้อลิ้นเเละกระพุ้งแก้มเพื่อให้มีการตึงตัวของเพดานอ่อน ลิ้นและกล้ามเนื้อแก้มมากขึ้นเพื่อลดการอุดกั้นของทางเดินหายใจวิธีออกกำลังกายสามารถดูได้ที่คลิปการบริหารช่องคอเพื่อลดอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ Oropharyngeal exercise” และการทำหัตถการทางทันตกรรมเช่น การจัดฟัน การผ่าฟันคุดก็มีผลเช่นเดียวกันเนื่องจากทำให้รูปหน้ามีการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ทางเดินหายใจไม่ถูกอุดกลั้นและวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจ สำหรับคนที่มีภาวะเพดานอ่อนส่วนบนหย่อนมากเกินไปก็จะมีการจี้หรือเลเซอร์เพื่อทำให้เพดานอ่อนไม่ลงไปอุดกลั้นทางเดินหายใจ 

            วิธีที่ใช้สำหรับดูเเลรักษาคนไข้ที่นอนกรนหรือมีภาวะอุดกลั้นทางเดินหายใจควรวินิจฉัยก่อนว่าเกิดจากสาเหตุอะไรเพื่อที่จะได้เลือกวิธีการรักษาได้ถูกต้องหรือหากไม่ได้เป็นเยอะการออกกำลังกาย การนวดบริเวณกระพุ้งเเก้มอาจจะช่วยเเก้ไขปัญหาในเบื้องต้นทำให้การนอนกรนดีขึ้นได้

Share this :